วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

3.  คุณธรรม - จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด



บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้· ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

2. จงกล่าวถึงรูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมา 2 รูปแบบ
อนาคตของสังคมไทยกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

“ สังคมไร้พรมแดน ” เป็นสัญลักษณ์แห่งโลกยุคปัจจุบัน เพราะมนุษย์ในสังคมทุกมุมโลกสามารถติดต่อสื่อสารรับทราบข่าวสารข้อมูลถึงกันได้อย่างไม่มีอุปสรรคและพรมแดน อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศนั่นเอง ปัจจุบันนี้เราอยู่ในสังคม
ที่เรียกว่า” สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร ( The information society ) เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆเพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม การใช้สารสนเทศและบริการประเภทต่างๆนี้อาทิเช่น
การรวบรวมและการจัดเก็บสารสนเทศ ให้เป็นระบบระเบียบเพื่อประสิทธิภาพในการค้นหาและเรียกใช้ในภายหลัง , การผลิต
สารสนเทศที่เป็นเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ , การเผยแพร่สารสนเทศบนสัญญาณสื่อสารทุกรูปแบบ , การใช้สารสนเทศ
เฉพาะงานได้แก่ การเรียนการสอน , การแพทย์ , การออกแบบ , การก่อสร้าง , การบัญชี , การธนาคาร , การอุตสาหกรรม , ศิลปะ,การ์ตูน ,โลกเสมือนจริง , ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น ในสังคมสารสนเทศนี้ สิ่งสำคัญอันจะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการและทันเวลานั่นก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology หรือ IT)
สังคมสารสนเทศจึงมีคุณลักษณะที่สรุปได้ในศตวรรษที่ 21 คือ เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศที่บันทึกอยู่บนสื่อที่เป็นเอกสาร , สิ่งพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ , สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียง ภาพ ฯลฯ เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งในการดำรงชีวิตและ
ดำเนินงานทุกประเภท เป็นสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการได้มา ,จัดเก็บ , ประมวลผล , สืบค้น และเผยแพร่
สารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างรวดเร็วถูกต้องและทันเวลา เป็นสังคมที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นตัวควบคุมการทำงานได้แก่ เครื่องอำนวยความสะดวกในบ้านและสำนักงาน อาทิเช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า , เตาไมโครเวฟ ,เครื่องซักผ้า ฯลฯ เป็นสังคมที่ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ด้วยตนเองทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์นานัปการ อันนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการด้านต่างๆอย่างมากมายมหาศาล
สิ่งที่ปรากฎให้เห็นและทราบกันอยู่ในปัจจุบัน ที่ชัดเจนก็คือมีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer- PCs) กันอย่างแพร่หลาย และมีการใช้จากระบบเครือข่ายสารสนเทศอย่างกว้างขวาง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานในด้านต่างๆได้แทบทุกประเภทแทบทุกอย่างที่มนุษย์ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail), การใช้ตู้ ATM ,การติดต่อค้าขายด้วยระบบ EDI ( Electronic Data Interchange), การจองตั๋วเครื่องบินและตั๋วรถไฟ ,
การค้นหาข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต , การประชุมทางไกล เป็นต้น รวมทั้งมีการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมและเพื่อประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีหลายระบบ , หลายขนาด และหลายขีดความสามารถ รวมทั้งราคาจัดว่าถูกลงเมื่อเทียบกับพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น เราสามารถนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานด้านระบบการจ่ายเงินเดือน , ระบบบัญชี , การขายและการตลาด , การออกแบบและการผลิต , งานด้านเอกสาร , การวิจัยและพัฒนา , งานจัดเก็บ
ข้อมูลจำนวนมาก , ระบบความปลอดภัย , การทดสอบด้านวิทยาศาสตร์ , การเกษตร ,การวินิจฉัยโรค ฯลฯ
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องเล่นซีดี เปรียบเสมือนผ้าใบสำหรับนักวาดภาพ เปรียบเสมือนโรงพิมพ์ที่ผลิตเอกสารต่างๆ เป็นที่รวบรวมเกมเพื่อความสนุกสนานของผู้เล่น เป็นห้องทดลองของนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาองค์ประกอบของสารเคมี เป็นห้องทำงานของสถาปนิกและวิศวกรในการออกแบบเครื่องบิน , คำนวณน้ำหนักและส่วนประกอบของเครื่อง เป็นนาฬิกาปลุกเมื่อต้องการให้ส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับเวลา เป็นเสมือนสารานุกรมที่สามารถบันทึกความรู้ได้จากทั่วทุกมุมโลก คอมพิวเตอร์รับใช้มนุษย์ได้อย่างเหลือคณานับ แต่ในบรรดาสิ่งที่มนุษย์ต้องการให้คอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกให้นี้ คอมพิวเตอร์เข้าใจแต่เพียงกระแสไฟฟ้าที่ส่งเข้าไปหล่อเลี้ยงวงจรเล็กๆบนแผงวงจรที่เรียกว่า ชิบ( chips) เท่านั้น นับเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เพียง
กระแสไฟฟ้าซึ่งมีสถานะปิดและเปิดก็สามารถบันดาลสิ่งที่มนุษย์ต้องการได้นานับประการ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องการศึกษาที่
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถจัดให้มีการเรียนการสอนได้ทุกที่ ทั้งที่บ้าน , ที่โรงเรียนหรือที่ใดๆที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผู้เรียนหรือผู้ที่ศึกษาไม่ต้องเข้ามานั่งในห้องเรียนหรือเรียกว่า “ Virtual school” คอมพิวเตอร์ช่วยให้ความสะดวก และโอกาสเช่นนี้
เกิดขึ้นได้โดยการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง
ในยุคของดิจิทัลเช่นปัจจุบันนี้ สารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ไปยังผู้ใช้โดยไม่จำกัดระยะทางและเวลา นับเป็นความคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน ดังจะเห็นได้จากการเผยแพร่ข่าวสารทางโทรทัศน์ , ทางโทรศัพท์ , ทางภาพยนต์ , ทางคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ในรูปแบบของหนังสือตำราเรียนหรือหนังสือพิมพ์ ล้วนแล้วแต่มีพัฒนาการออกมาในรูปของดิจิทัล เช่น ซีดี-รอม , ดีวีดี , เลเซอร์ ฯลฯ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกัน เพื่อให้สารสนเทศในรูปของดิจิทัล ได้เผยแพร่และแบ่งปันกันในรูปของระบบเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะด้านซึ่งใช้ความรู้และความถนัดในแต่ละสาขาวิชา ( Knowledge workers ) เพิ่มมากขึ้นนับเป็นล้านๆคนทั่วโลก และจะทวีจำนวนขึ้นอีกเนื่องจากประเทศต่างๆได้ขยายระบบการศึกษาออกไปสู่ประชากรของตนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นความต้องการและความจำเป็นในการได้รับข่าวสาร ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มประชากรจึงมีมากขึ้นตามลำดับด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้านเดียวย่อมไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้สารสนเทศอันหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการผนวก “ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลหรือเทคโนโลยีสื่อสารคมนาคมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครือข่าย (networks) ขึ้น
ระบบเครือข่าย (networks) สามารถสื่อสารข้อมูลและส่งผ่านสารสนเทศอันเป็นผลของการทำงานที่มีประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลเพื่อให้มนุษย์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเพื่อให้ผู้ใช้ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานอยู่ในสำนักงาน , องค์กรภายในประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศติดต่อสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง และสามารถออกไปสู่ผู้ใช้ได้อย่างกว้างขวางและไกลมากยิ่งขึ้น เป็นการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลความรู้ ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งหลายในโลก สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดน เป็นเสมือนการย่อโลกมาอยู่หมู่บ้านเดียวกัน
        ประเทศต่างๆทั่วโลก เสมือนหนึ่งเป็นสังคมของหมู่บ้านที่มีการติดต่อสื่อสารภายใต้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล และธุรกิจรูปแบบต่างๆ การคมนาคม , สถาบันการศึกษา , โรงงาน
อุตสาหกรรม ที่ตั้งอยู่ในประเทศทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว โดยมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นช่องสื่อสารประเภทต่างๆเช่น ดาวเทียม , ไมโครเวฟ , สายใยแก้ว ฯลฯ เป็นเครื่องส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศระหว่างผู้ส่งและผู้รับได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นระยะทางจึงมิใช่อุปสรรคในการติดต่อสื่อสารของมนุษย์อีกต่อไป และกล่าวได้ว่าปัจจุบันเราอยู่ในหมู่บ้านแห่งเดียวกันคือ หมู่บ้านแห่งโลก ( Global Village ) ซึ่งมนุษย์ทั่วทุกมุมโลกสามารถค้นคว้าหาความรู้และสารสนเทศต่างๆจากฐานข้อมูลนับพันนับหมื่น การศึกษาค้นคว้าสามารถทำได้ทั้งแนวลึกและแนวนอน ธุรกิจต่างๆสามารถติดต่อผ่านระบบเครือข่ายทำให้เกิด
ความรวดเร็ว สามารถตรวจสอบข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงที สนองความต้องการของสังคมทุกมุมโลก ก่อให้เกิด
ความเป็นสากลในการบริโภคสินค้า , บริการการศึกษา และการดำรงชีวิตด้านต่างๆตามมา การคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศมีความสะดวกและปลอดภัยสูงขึ้นเนื่องจากผู้โดยสารสามารถจองตั๋วและซื้อตั๋ว ผ่านระบบเครือข่ายได้ในทุกชุมชนทั่วโลก ข่าวสารของประเทศต่างๆทั่วโลก ทั้งด้านธุรกิจ , การเมือง , การศึกษา , วัฒนธรรม , เทคโนโลยี ฯลฯ สามารถส่งผ่านถึงกันได้อย่างทั่วถึงและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บนผืนแผ่นดินไทยอันกว้างใหญ่ไพศาล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรมากมายหลากหลายชนิด ศูนย์รวมแห่งอารยธรรมที่ซึ่งสั่งสมมาเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปี จนก่อเกิดเป็นประเทศไทยเฉกเช่นทุกวันนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้หลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่างไม่ขาดสาย จนกระทั่งได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ในการดำเนินชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่สังคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาค้นคว้า , การจัดการธุรกิจ , การปกครอง , ความมั่นคงของชาติ ตลอดจนการสันทนาการและบันเทิง ปัจจุบันเราสามารถค้นคว้าข้อมูลได้จากทั่วโลก , สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถติดต่อกับบุคคล , สถาบัน , องค์กรได้อย่างไร้พรมแดน และกล่าวได้ว่าปัจจุบันเราอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันคือ “ หมู่บ้านแห่งโลก(Global Village) จึงเป็นที่มาของคำว่า สังคมไร้พรมแดน ”

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

  1. ข้อควรระวัง ในการสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
การป้องกันรักษาความปลอดภัยจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เบื้องต้น
      การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
n      เราจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัยได้อย่างไร ?
n   เราจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเราได้อย่างไร ?
n   เราจะเชื่อถือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้หรือไม่ ?
n   เราจะหลีกเลี่ยงการหลอกลวง กับดัก และปัญหาต่างๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร ?

ภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ต
n  SPAM-EMAIL
n  Spyware Attacks
n  Malware Attacks
n  Phishing
n  Hacker Attacks and Google Hacking Method
n  Peer-to-Peer
n  Wireless Network Threat
n  SPIM (Spam Instant Messaging)
n  Virus and Worm Attacks
n  PDA Malware Attack

วิธีการปกป้องตนเองจากสปายแวร์และซอฟท์แวร์หลอกลวง
n อย่าดาวน์โหลดจากแหล่งที่คุณไม่รู้จัก การป้องกันไวรัสจากซอฟท์แวร์จอมลวงที่ดีที่สุด คือ การไม่ดาวน์โหลดมันเสียตั้งแต่แรก
¨ ติดตั้งซอฟท์แวร์จากเว็บไซท์ที่ไว้วางใจได้เท่านั้น
¨ อ่านที่ตัวหนังสือเล็กๆ ให้ดี เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรม ต้องแน่ใจว่าได้อ่านข้อความให้เข้าใจ ก่อคลิก “Agree” หรือ “o.k” อย่าคลิก “yes” หรือ “I accept” เพียงเพราะต้องการจะให้ผ่าน ๆ ไป
¨ ระวังเรื่องเพลงป๊อปฟรีและโปรแกรมหนังร่วมกัน. การฟังเพลงฟรี หรือ โปรแกรมหนัง ดัง ต้องให้ความระมัดระวัง จากข้อมูลทางสถิติพบว่าคนส่วนใหญ่มักเข้าไปติดกับดักของซอฟท์แวร์หลอกลวงเหล่านี้
n สังเกตอาการเตือนจากซอฟท์แวร์หลอกลวง ซึ่งปรากฏบนเครื่องพีซีมีหลายทางที่สามารถบอกคุณได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัส

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
n   ประวัติบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Profile)
            เมื่อผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียน (Register) เพื่อสมัครขอใช้บริการทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บลงในฐานข้อมูล ซึ่งทางเว็บไซต์หรือผู้ดูแลเว็บไซต์จะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ โดยต้องไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลลงในแบบฟอร์มการลงทะเบียนออนไลน์
n Cookies  เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็กที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ใช้เก็บข้อมูลลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้  ไฟล์ Cookies จะมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ชื่อผู้ใช้ สิทธิพิเศษต่าง ๆ หรือหมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น
n สำหรับเว็บไวต์ทางธุรกิจส่วนใหญ่จะมีการส่ง Cookies ไปยังเว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บ Cookies เหล่านั้นลงในหน่วยจัดเก็บของเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดดิสก์) เมื่อผู้ใช้กลับมาใช้งานเว็บไซต์ที่เว็บเพจนั้นอีกครั้งจะทำให้ทราบได้ว่าผู้ใช้คนใดเข้ามาในระบบและจัดเตรียมเพจที่เหมาะสมกับการใช้งานให้อัตโนมัติ

แนวทางปฏิบัตในการป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามต่างๆ
1. ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส
2. เปิดการทำงานของ Window Firewall
3. ทำ Software Update
¨Window Update
¨Update virus pattern file
4. สร้าง password ที่ยากต่อการคาดเดา และไม่ควรให้เครื่องจำ password
5. ป้องกันตนเองจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ
6. แนวทางสำหรับการรับส่งเมล์เพื่อลดปัญหาสแปมเมล์

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำตัวเองค่าา าา า ^^

สวัสดีค่ะ  อาจารย์..พุธชาติ!!


หนูชื่อ.. เด็กหญิงอภิสรา  วนกรกุล  ชื่อเล่น.. พลอย ค่ะ 

นักเรียน โรงเรียนตากพิทยาคม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1

ปีการศึกษา 2554   ภาคเรียนที่ 1  ^^


เสนอ...
       
   อาจารย์พุธชาติ  มั่นเมือง  :')